ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.ต้นตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendle
วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด
ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย
4
การปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ
สรรพคุณ ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็น
ยาไทย แผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น
ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

2.ต้นใบเตย
ชื่อวิทยาศาสตร์ pandans tectorins
ลักษณะ เป็นไม้กิ่งพุ่ม ก้านใบเดียว มีรางน้ำ มีสีนวล
5
สรรพคุณ รากแก้ปัสสวะแดง
ใบแก้ท้องเสีย

3.ต้นมะกูด
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Citrus Hystrix
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่อที่เรียก : ในไทยทั่วไปเรียก มะกูด ภาคใต้เรียก ส้มมั่วผี ทางภาคอีสานเรียก
มะหูด ทางภาคกลางเรียก ส้มมะกรูด
ลักษณะ : ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ใบเขียวหนา มีคอดกิ่วที่กลางใบ
เป็นตอนๆ ดอกสีขาว เกสรมีสีเหลือง กลิ่นหอมเล็กน้อย ผลคล้ายผล
ส้มซ่า ผิวหนาเป็นร่องขรุขระทั้งลูก มีขั้วจุกสูง ตามต้นและกิ่งมีหนาม
ยาวเล็กน้อย น้ำในลูกมีรสเปรี้ยว
การเจริญเติบโต : ปลูกได้ไม่ต้องเลือกดิน มีปลูกกันตามบ้านเรือกสวนไร่นา
6
พันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งก็ได้
ประโยชน์ : ใบนำมาปรุงกับอาหารดับกลิ่นคาว น้ำในผลใช้ในการย้อมผ้า ทำน้ำ
ยาสระผมได้
สรรพคุณ : ราก กระทุ้งพิษ ถอดพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด แก้พิษฝีภายใน แก้
เสมหะเป็นโทษ
ลูกมะกรูดนำมามักดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม รับประทานเป็นยา
ฟอกล้างและบำรุงโลหิต ลูกมะกรูดนี้ถ้าเอามาเผาไฟ ก่อนเผาคว้าน
เอาไส้ในออก แล้วเอามหาหิงคุ์ใส่ในกลางผล สุมไฟให้เกรียมจนกรอบ
บดเป็นผงละเอียด ละลายกับน้ำผึ้งป้ายลิ้นเด็กที่คลอดใหม่ขับผายลม
ดีนัก แก้ปวดท้อง
ผิวของลูกมะกรูด ปรุงเป็นยาลม ขับลมในลำไส้ ขับระดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น