ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
โรงเรียนสามัคคีพิทยาคมมีห้องน้ำหลายเข้าที่มีกลิ่นเหม็นรบกวนบริเวณและสถานที่ใกล้เคียงถ้าซื้อน้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำตามท้องตลาดมาใช้นั้นจะมีราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตจากสารเคมีทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ใบเตย ผิวมะกูด ใบตะไคร้ มาทดลองสกัดคลอโรฟิลล์เพื่อเปรียบเทียบปริมารที่เหมาะสมและชนิดของสมุนไพรที่สามารถกำจัดกลิ่นในสถานที่ต่าง ๆเช่น ห้องน้ำ สถานที่ ที่มีกลิ่นอับ
จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมสามารถกำจัดกลิ่นได้ดีคือ อัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 20 กรัม ต่อ แอลกอฮอล์ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสมุนไพรที่กำจัดกลิ่นได้ดีที่สุดคือสารสกัดจากผิวมะกูด

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะ
- การทดลองในครั้งนี้เป็นการทดลองเปรียบเทียบในอัตราส่วนเพียง 2 อัตราส่วน ดังนี้ ควรมีการทดลองเปรียบเทียบในอัตราส่วนอื่นๆ และควรศึกษาสมุนไพรชนิดอื่นๆ ด้วย
- ในการสกัดคลอโรฟิลล์ควรระมัดระวังการใช้แอลกอฮอล์เพราะเป็นสารติดไฟได้ง่าย

สรุปผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
สรุปได้ว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลูกบาศก์เวนติเมตร กำจัดกลิ่นห้องน้ำได้ดีที่สุด
อภิปรายผลจากการวิเคราะห์
จากการทดพบว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลุกบาศก์เซนติเมตรกำจัดกลิ่นห้องน้ำได้และสามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีกลิ่นอับทำให้อากาศสดชื่นกำจัดกลิ่นเหม็นได้ เพราะความเข้มข้นของสารมากจะกำจัดกลิ่นได้มาก

ผลการศึกษา

ผลการศึกษา
การวิเคราะห์ข้อมูลจากากรทดลองใช้สารสกัดสมุนไพร 10 กรัม ต่อแอลกอฮอล์ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร กับ 20 กรัม ต่อแอลกอฮอล์ 200ลูกบาศก์เซนติเมตร ในห้องน้ำ และจากการความสามารถในการกำจัดกลิ่นของผู้สำรวจผู้ใช้ ห้องน้ำ มีการบันทึกผลดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสารสกัดสมุนไพร
ชนิดของสมุนไพร อัตราส่วน(กรัม: ลูกบาศก์เซนติเมตร)
10 : 200 20 : 200
ใบเตย มีกลิ่นเหม็นห้องน้ำเล็กน้อย ห้องน้ำไม่มีกลิ่นเหม็น
ใบตะไคร้หอม มีกลิ่นเหม็นห้องน้ำเล็กน้อย ห้องน้ำไม่มีกลิ่นเหม็น
ผิวมะกรูด มีกลิ่นเหม็นห้องน้ำเล็กน้อย ห้องน้ำไม่มีกลิ่นเหม็น

ตารางที่ 2 แสดงผลการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้ 30 คน ในการกำจัดกลิ่นของสารสกัดสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด
ชนิดของสมุนไพร จำนวน (คน)
ใบเตย 8
ใบตะไคร้หอม 7
ผิวมะกรูด 15
รวม 30

วิธีการทดลอง

วิธีการทดลอง
1.นำใบเตย ใบตะไคร้หอม และผิวมะกรูดมาชั่งในปริมาณอย่างน้อยละ 10 กรัม และ 20กรัม
2.นำสมุนไพรทั้ง3 ชนิดมาสกัดคลอโรฟิลล์ในแอลกฮอล์อย่างละ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วนำไปใส่ขวดสเปรย์
3.นำสารสกัดในสมุนไพรในปริมาณที่ต่างกันไปทดลองในห้องน้ำ2ห้องแล้วบันทึกผลการเปรียบเทียบ
4.สอบถามผู้ใช้ห้องน้าจำนวน 30 คนและบันทึกผล

อุปกรณ์และสารเคมี

อุปกรณ์และสารเคมี
อุปกรณ์
1.บีกเกอร์ขนาดใหญ่ 250 ลุกบาศก์เซนติเมตร 3ใบ
2. หม้อมีด้ามจับ 1ใบ
3. เครื่องชั่ง1เครื่อง
4. ขวดใส่สเปรย์ 15ขวด
วัสดุและสารเคมี
1.ใบเตย 30 กรัม
2.ใบตะไคร้หอม 30กรัม
3. ผิวมะกรูด 30 กรัม
4. แอลกอฮอร์ 1.2 ลิตร

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.ต้นตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendle
วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด
ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย
4
การปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ
สรรพคุณ ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็น
ยาไทย แผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น
ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

2.ต้นใบเตย
ชื่อวิทยาศาสตร์ pandans tectorins
ลักษณะ เป็นไม้กิ่งพุ่ม ก้านใบเดียว มีรางน้ำ มีสีนวล
5
สรรพคุณ รากแก้ปัสสวะแดง
ใบแก้ท้องเสีย

3.ต้นมะกูด
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Citrus Hystrix
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่อที่เรียก : ในไทยทั่วไปเรียก มะกูด ภาคใต้เรียก ส้มมั่วผี ทางภาคอีสานเรียก
มะหูด ทางภาคกลางเรียก ส้มมะกรูด
ลักษณะ : ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ใบเขียวหนา มีคอดกิ่วที่กลางใบ
เป็นตอนๆ ดอกสีขาว เกสรมีสีเหลือง กลิ่นหอมเล็กน้อย ผลคล้ายผล
ส้มซ่า ผิวหนาเป็นร่องขรุขระทั้งลูก มีขั้วจุกสูง ตามต้นและกิ่งมีหนาม
ยาวเล็กน้อย น้ำในลูกมีรสเปรี้ยว
การเจริญเติบโต : ปลูกได้ไม่ต้องเลือกดิน มีปลูกกันตามบ้านเรือกสวนไร่นา
6
พันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งก็ได้
ประโยชน์ : ใบนำมาปรุงกับอาหารดับกลิ่นคาว น้ำในผลใช้ในการย้อมผ้า ทำน้ำ
ยาสระผมได้
สรรพคุณ : ราก กระทุ้งพิษ ถอดพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด แก้พิษฝีภายใน แก้
เสมหะเป็นโทษ
ลูกมะกรูดนำมามักดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม รับประทานเป็นยา
ฟอกล้างและบำรุงโลหิต ลูกมะกรูดนี้ถ้าเอามาเผาไฟ ก่อนเผาคว้าน
เอาไส้ในออก แล้วเอามหาหิงคุ์ใส่ในกลางผล สุมไฟให้เกรียมจนกรอบ
บดเป็นผงละเอียด ละลายกับน้ำผึ้งป้ายลิ้นเด็กที่คลอดใหม่ขับผายลม
ดีนัก แก้ปวดท้อง
ผิวของลูกมะกรูด ปรุงเป็นยาลม ขับลมในลำไส้ ขับระดู